IHB0370 ข่าหด (แห้ง) 1 กิโล

แชร์ :

ข่าหด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fissistigma polyanthoids (DC.) Merr. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน มีขนสีน้ำตาลที่เส้นใบ ดอกช่อแยกแขนงออกเป็นกระจุกสั้นๆ ที่ซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบสีแดง กลิ่นหอม ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลมสีน้ำตาลเป็นมัน เปลือกหนา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

฿189.00

รายละเอียด

ข่าหด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fissistigma polyanthoids (DC.) Merr. อยู่ในวงศ์ ANNONACEAE มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน มีขนสีน้ำตาลที่เส้นใบ ดอกช่อแยกแขนงออกเป็นกระจุกสั้นๆ ที่ซอกใบ มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบสีแดง กลิ่นหอม ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลมสีน้ำตาลเป็นมัน เปลือกหนา ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
 

 
 


ในช่วง 20 ที่ผ่านมา หมอยาพื้นบ้านในแถบปราจีนบุรีที่นับถือเป็นครูบาอาจารย์รุ่นแรกๆ ท่านได้ล่วงลับไปตามวัยตามสังขารจนเกือบหมด โชคดีที่หลายปีที่ผ่านมาได้ขยายเครือข่ายไปยังหลายพื้นที่ห่างไกล แต่ยังมีพ่อหมอแม่หมอผู้เสมือนคลังภูมิปัญญาของแผ่นดินในท้องถิ่นเหล่านั้น อย่างเช่น ที่อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย มีการประสานงานกับมูลนิธิเลยเพื่อการพัฒนา โดยมีคุณศาสนา สอนผา เป็นผู้ประสานงานในการเก็บรวบรวมความรู้ ซึ่งหมอยาเมืองเลยหลายท่านที่เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ก็อายุมากแล้ว ยังอุตส่าห์พาเราไปตามหาสุดยอดยาที่อยากรู้อย่างเช่น ข่าหด

สมุนไพรชื่อแปลกนี้ทำ เป็นไม้เถา เถาใหญ่ ขนาดเท่าต้นขาคนก็มี ถ้าเอามีดฟัน ดมดูจะมีกลิ่นและรสชาติเผ็ดเหมือนข่าที่เราใส่ต้มใส่แกงถึงแม้จะไม่แรงเท่าก็ตาม เป็นยาที่คนโบราณใช้กันประจำ ที่มาของคำว่า หด ก็คือ เป็นต้นไม้ที่เข้ายาริดสีดวงทวาร ช่วยในผู้หญิงที่มดลูกหย่อนให้หดลง

ข่าหด เป็นพืชในวงศ์น้อยหน่า ที่หมอยาอีสานนิยมใช้ในการดูแลสุขภาพของผู้หญิง แต่เป็นสมุนไพรที่หายาก และต้องเสาะแสวงหากันกว่าจะได้มา ตาวิน ตุ้มทอง หมอยาเมืองเลยวัย 92 ปี บอกว่าผู้หญิงที่มีลูกแล้ว มดลูกหย่อนหรือไม่เข้าอู่ ให้นำข่าหดหนึ่งต้นมาต้มกิน นอกจากนั้นยังใช้แก้ริดสีดวงทวาร และไส้เลื่อนได้

พ่อหมออีกท่าน คือ ตาเพ็ง สุขบัว วัย 93 ปี ก็ใช้รักษามดลูกหย่อนเช่นกัน โดยใช้ร่วมกับ ตะไคร้ต้นหมอยาเมืองเลยคนอื่นๆ ก็ใช้ข่าหดในทำนองเดียวกัน เช่น พ่อ หมอสะอ้านที่บ้านผาหวายใช้ข่าหด ว่านชัก มดลูก และต้นทรหดให้ผู้หญิงที่มดลูกหย่อน และคนเป็นริดสีดวงทวารต้มกิน แต่หมอยาเหล่านี้ ท่านกำชับว่า ไม่ให้ใช้ข่าหดเยอะ และไม่ให้กินสด เพราะจะทำให้ลิ้นหด เข้าใจว่าเป็นอุบายไว้ขู่ ไม่ให้ใช้มากเกินไปเพราะอาจจะมีผลข้างเคียงได้

นอกจากนี้ ในการสำรวจสมุนไพรพื้นบ้านของ ศ.ดร.วงศ์สถิต ฉั่วกุล พบว่า ข่าหดใช้เป็นยาแก้กินผิดแก้ผิดสำแดง อาหารเป็นพิษ โดยใช้เปลือกต้น ต้มน้ำ กินหรือฝนข้นๆ หรือดองเหล้ากิน ครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง

การใช้ข่าหดรักษาอาการของโรคที่มีลักษณะยืดออกมา หรือหย่อนผิดปกติ หรือเคลื่อนออกมาผิดที่ผิดทาง ให้กลับเข้าสู่ที่เดิม เป็นภูมิปัญญาที่ไม่มีใครรู้ดีเท่าหมอยาเมืองเลย โชคดีที่เรายังตามไปเก็บมาไว้ได้ทัน แต่ยังมีสมุนไพรอีกหลายร้อยหลายพันชนิด กำลังหดหายไปจากการรับรู้ของคนรุ่นเราอย่างน่าเสียดาย

ตำรับยา
 

ยารักษามดลูกหย่อน ตำรับตาวิน ตุ้มทอง

ใช้ข่าหด2-3 กีบ ต้มกิน ให้กินครั้งละ 1 กลืน วันละ 3 เวลา ช่วยทำ ใหม้ดลูกกระชับขึ้น
ยารักษามดลูกหย่อน ตำรับ ตาเพ็ง สุขบัว

ใช้ข่าหด 1-2 กีบ ว่านชักมดลูก 1 ฝาน สีไครต้น (ตะไคร้ต้น) 1-2 กีบ ข่าธรรมดา (หัวแก่) 2-3 ท่อน ใช้ต้มเข้าด้วยกัน กิน เช้า-เย็น จะช่วยรัดมดลูก ทำให้มดลูกกระชับ
ยารักษามดลูกหย่อน ตำรับ ตาบุญ สุขบัว อายุ 83 ปี
 

 

ใช้ข่าหด 2 นิ้วมือ ว่านชักมดลูก 1 ฝาน ต้มกินครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น

สาระน่ารู้

มดลูกหย่อน หมายถึง การที่มดลูกเคลื่อนลงต่ำ เนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมหย่อน กล้ามเนื้อกระบังลม ประกอบด้วย กล้ามเนื้อต่างๆ หลายสิบมัดยึดติดประสานกัน มีลักษณะคล้ายเปลญวน คอยพยุงอวยัวะต่างๆ ในช่องท้อง เช่น ลำไส้ มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ไม่ให้ไหลลงมากองที่หว่างขา บางบริเวณของกล้ามเนื้อชุดนี้ จะเป็นรูเพื่อให้อวัยวะบางอย่าง ได้แก่ ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และรูทวารหนัก ผ่านออกมาได้โดยปกติ กล้ามเนื้อส่วนนี้จะมีความแข็งแรงทนทานค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีสาเหตุสำคัญ ๆ เช่น การคลอดบุตรโดยเฉพาะคลอดทางช่องคลอดบ่อยๆ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อชุดนี้ถูกยืดขยาย และหย่อนยานได้ เมื่อสตรีเหล่านี้มีวัยสูงขึ้น และหมดฮอร์โมน กล้ามเนื้อกระบังลมก็เกิดการหย่อนยาน เสียความตึงตัว จนไม่สามารถพยุงอวัยวะในช่องท้องได้ จึงทำให้ผนังช่องคลอดโผล่ออกมานอกช่องคลอด ถ้ารุนแรงมากขึ้น ก็อาจมีมดลูกโผล่ออกมาหรือหลุดออกมาด้วย